อะไรทำให้เป็นโรคเกลียดวันจันทร์
ตัวเราเอง...
1. อายุ คนมีอาการแบบนี้ส่วนใหญ่ มักเป็นคนวัยหนุ่มสาวที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานและขาดความมุ่งมั่นในชีวิต ติดนิสัย กิน ดื่ม เที่ยวมาตั้งแต่สมัยนักศึกษา และมักใช้เวลาช่วงวันหยุดสัปดาห์ทำกิจกรรมเหล่านั้น เมื่อถึงวันจันทร์ก็รู้สึกเหนื่อยล้า นอนตื่นสาย และไม่อยากไปทำงาน
2. บุคลิกภาพ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญค่ะ เพราะบางคนมีนิสัยเฉื่อยชา รักสบาย ไม่กระตือรือร้น ไม่ใส่ใจทำงาน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเบื่องานได้เช่นกัน
3. ภาวะจิตใจ ข้อนี้มักเกิดขึ้นกับคนทำงานวัย 30 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่กำลังสร้างฐานะและมุ่งมั่นในหน้าที่การงานเพื่อเลื่อนตำแหน่ง มักมีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำมากกว่าคนปกติหรือไปทำงานสาย กลับเร็ว
4. ปัญหาสุขภาพกาย บางครั้งก็ส่งผลเชื่อมโยงมาจากสุขภาพจิต เช่น เป็นโรคกระเพาะอาหารบ่อยๆ เครียดบ่อยๆ จนทำงานไม่ได้ บางคนเครียดจนนอนไม่หลับ ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่นกระปรี่กระเปร่า จนกลายเป็นข้ออ้างไม่ไปทำงานอยู่เรื่อยๆ
5. หน้าที่การงาน งานทุกตำแหน่งไม่ได้เหมาะกับคนทุกคน งานบางงานอาจทำแล้วเกิดความรู้สึกน่าเบื่อหน่าย เครียด หรือทำแล้วอาจซ้ำซาก จำเจ ไม่ท้าทาย หลีกหนีความรับผิดชอบ จนก่อให้เกิดปัญหาตามมา สุดท้ายแล้วก็ต้องลาออก และเปลี่ยนงานใหม่ไปเรื่อยๆ
สิ่งแวดล้อม...
1. เพื่อนร่วมงาน เป็นเรื่องปกติในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งบางคนมีพฤติกรรมขี้เมาส์ ชอบประจบ เห็นแก่ตัว ไม่รับผิดชอบในหน้าที่การงาน แต่กลับโยนภาระมาให้เราจนทำให้เราขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานและขาดบรรยากาศในการทำงานที่ดี
2. หัวหน้างาน หนึ่งในปัญหายอดฮิตที่คุณไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ เพราะถึงอย่างไรเขาก็เป็นเจ้านายของคุณ บางคนมีนิสัยเสียชอบคนขี้ประจบ เป็นคนเจ้าอารมณ์ วันดีคืนดีก็เรียกลูกน้องเข้าไปต่อว่าโดยไม่มีสาเหตุ ทำให้บรรยากาศไม่เอื้อต่อการทำงาน
3. การเดินทาง คนที่ทำงานโดยใช้เวลาเดินทางวันละ 2 ชั่วโมงขึ้น คนกลุ่มนี้มักจะรู้สึกเกิดความเบื่อหน่ายในการเดินทางไปทำงาน โดยมีสาเหตุมาจากปัญหารถติด อากาศร้อนอบอ้าว มลภาวะ เมื่อไปถึงที่ทำงานก็รู้สึกเหนื่อยล้า ทำงานแล้วก็ขาดประสิทธิภาพ
7วิธีรับมือโรคเกลียดวันจันทร์
เมื่อรับทราบถึงสาเหตุของโรคเกลียดวันจันทร์แล้ว เรามีเคล็ดลับดีๆ ที่ทำได้ง่ายมาให้คุณลองปฏิบัติกันค่ะ
1. อย่าเครียด เพราะการทำงานทั้งวันในแต่ละวันนั้น สร้างภาวะความเครียดให้คุณได้มากมาย เมื่อเริ่มเครียดหรือหรือเหนื่อยล้าขึ้นมา ให้หยุดทำงานนั้นสัก 10 นาที ออกไปเดินสูดอากาศนอกห้องให้สมองปลอดโปร่ง หรือแวะเติมความสดชื่นกับเครื่องดื่มแก้วโปรดสักแก้ว ค่อยกลับมาลุยงานต่อ หรือใช้ช่วงเวลาพักเที่ยงเลือกทำกิจกรรมที่เราชอบ เช่น อ่านหนังสือที่ถูกใจ หรือ ฟังเพลงสุดโปรด ก็ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้ไม่ยาก
2. มีสติตลอดเวลา ในการเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่นั้น เชื่อแน่ว่าจะต้องมีงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาในความรับผิดชอบของคุณได้เสมอๆ ทางที่ดีควรตั้งสติและพร้อมเผชิญหน้ากับงานที่จะเข้ามาใหม่ รวมทั้งจัดสรรเวลาการทำงานให้เหมาะสมจะได้ไม่ยุ่งยากภายหลัง เพราะงานทุกงานที่ได้รับมอบหมาย คือสิ่งที่คุณต้องทำให้สำเร็จ
3. เคลียร์งานให้เสร็จสิ้น วันศุกร์แสนสุขของคนทำงานส่วนใหญ่ ทุกคนอยากรีบกลับบ้านไปนอนเล่นพักผ่อนให้เต็มที่ แต่เมื่อกลับมาทำงานวันจันทร์หลายคนจะพบงานเก่าที่คั่งค้างต่อเนื่องมาจากวันศุกร์ที่แล้ว แถมด้วยงานใหม่อีกกองพะเนิน ดังนั้นเราขอแนะนำให้คุณสละเวลาสักเล็กน้อยเคลียร์งานให้เสร็จสิ้นก่อนส่วนหนึ่งตั้งแต่วันศุกร์ พร้อมจัดทำรายการงานต่างๆ ที่ยังคั่งค้าง เพื่อที่จะมาสะสางและสานต่องานใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและง่ายดายขึ้น
4. จัดลำดับงาน งานแต่ละชิ้นมีความสำคัญและความเร่งด่วนแตกต่างกัน การจัดลำดับความสำคัญของงานจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้เงื่อนไขเวลาเป็นตัวกำหนดว่างานไหนส่งก่อนส่งหลัง แล้วจัดการเขียนลำดับงานที่มีความสำคัญมากน้อยตามลำดับออกมาเป็นข้อๆ นอกจากจะช่วยเตือนให้คุณไม่หลงลืมทำงานต่างๆ ให้เรียบร้อยแล้ว ยังสามารถลดความกังวลและความเครียดให้กับจิตใจด้วย ที่สำคัญการจัดลำดับงานเช่นนี้จะช่วยให้คุณเหลือเวลาและพลังงานสมองไว้ใช้ทำงานเพิ่มอีกด้วย
5. เข้างานเช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะในวันจันทร์ลองเข้างานเช้ากว่าปกติสักนิด เพื่อจัดสรรระเบียบให้กับการทำงานในวันจันทร์ และทำงานที่เหลืออยู่ให้เสร็จสิ้นลง เพื่อให้การทำงานตลอดสัปดาห์ที่เหลือเป็นเรื่องง่ายขึ้น ใครที่เคยมาทำงานสายๆ ลองมาทำงานเช้าดูสักวัน แล้วคุณจะพบว่าในยามที่ยังไม่มีเพื่อนร่วมงานมาทำงานนั้น เป็นเวลาที่คุณมีสมาธิมากทีเดียว
6. หยุดคิดเล็กคิดน้อย อย่านำเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาเป็นอารมณ์ เพราะสิ่งที่ผ่านไปแล้ว คุณควรปล่อยให้ผ่านไป หลายคนมัวแต่ใส่ใจเรื่องดังกล่าว จนไม่มีเวลาพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น พยายามปรับความคิดใหม่ๆ เวลาทำงานในแต่ละวันก็มุ่งไปที่เป้าหมายของคุณ ทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ความคิดเหล่านี้จะช่วยให้กระตือรือร้นและสนุกกับงานมากขึ้น
7. เติมเต็มกำลังใจ ลองหาเพื่อนสนิทในที่ทำงานไว้ปรึกษาหารือ หรือแบ่งเบาทุกข์สุข ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยคุณต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นให้ได้ และลองหยิบยื่นน้ำใจให้กับคนอื่นก่อน โดยเรียนรู้ถึงพื้นฐานจิตใจของเพื่อน เพราะแต่ละคนมีความต้องการและความปรารถนาไม่เหมือนกัน นอกจากน้ำใจแล้ว น้ำคำ หรือคำพูดก็สำคัญ คำพูดง่ายๆ แต่จริงใจเช่น ขอบคุณ และ ขอโทษ ก็จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนกระชับแน่นแฟ้นขึ้น Charge Up เติมพลังให้สดชื่นก่อนไปทำงาน
เลิกปาร์ตี้ี้ (โดยเฉพาะคืนวันอาทิตย์) แล้วหันมาพักผ่อนให้เต็มที่ พร้อมหากิจกรรมดีๆ มาช่วยให้คุณผ่อนคลายในวันหยุดอย่างอ่านหนังสือ เล่นโยคะ เล่นกีฬาที่ตัวเองโปรดปราน ก่อนนอนก็สวดมนต์ทำสมาธิ เพื่อให้จิตสงบขึ้นและนอนหลับสบาย เตรียมพร้อมทั้งกายใจเพื่อต้อนรับการทำงานวันแรกของสัปดาห์อย่างสดชื่น
เข้านอนเร็วขึ้นและตื่นเช้าขึ้น จะช่วยให้ร่างกายคุณได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แถมตื่นขึ้นก็สดชื่นจิตใจแจ่มใส ไม่งัวเงีย หรือไปนั่งหลับในที่ทำงาน
กินอาหารเช้ารองท้อง จะทำให้ท้องคุณสงบลงและมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น หากได้ดื่มน้ำผลไม้ด้วยยิ่งดี นอกจากมีประโยชน์แล้วยังช่วยให้ร่างกายสดชื่นและไม่อ้วนอีกต่างหาก
ข้อมูลและภาพประกอบจาก
ตัวเราเอง...
1. อายุ คนมีอาการแบบนี้ส่วนใหญ่ มักเป็นคนวัยหนุ่มสาวที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานและขาดความมุ่งมั่นในชีวิต ติดนิสัย กิน ดื่ม เที่ยวมาตั้งแต่สมัยนักศึกษา และมักใช้เวลาช่วงวันหยุดสัปดาห์ทำกิจกรรมเหล่านั้น เมื่อถึงวันจันทร์ก็รู้สึกเหนื่อยล้า นอนตื่นสาย และไม่อยากไปทำงาน
2. บุคลิกภาพ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญค่ะ เพราะบางคนมีนิสัยเฉื่อยชา รักสบาย ไม่กระตือรือร้น ไม่ใส่ใจทำงาน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเบื่องานได้เช่นกัน
3. ภาวะจิตใจ ข้อนี้มักเกิดขึ้นกับคนทำงานวัย 30 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่กำลังสร้างฐานะและมุ่งมั่นในหน้าที่การงานเพื่อเลื่อนตำแหน่ง มักมีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำมากกว่าคนปกติหรือไปทำงานสาย กลับเร็ว
4. ปัญหาสุขภาพกาย บางครั้งก็ส่งผลเชื่อมโยงมาจากสุขภาพจิต เช่น เป็นโรคกระเพาะอาหารบ่อยๆ เครียดบ่อยๆ จนทำงานไม่ได้ บางคนเครียดจนนอนไม่หลับ ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่นกระปรี่กระเปร่า จนกลายเป็นข้ออ้างไม่ไปทำงานอยู่เรื่อยๆ
5. หน้าที่การงาน งานทุกตำแหน่งไม่ได้เหมาะกับคนทุกคน งานบางงานอาจทำแล้วเกิดความรู้สึกน่าเบื่อหน่าย เครียด หรือทำแล้วอาจซ้ำซาก จำเจ ไม่ท้าทาย หลีกหนีความรับผิดชอบ จนก่อให้เกิดปัญหาตามมา สุดท้ายแล้วก็ต้องลาออก และเปลี่ยนงานใหม่ไปเรื่อยๆ
สิ่งแวดล้อม...
1. เพื่อนร่วมงาน เป็นเรื่องปกติในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งบางคนมีพฤติกรรมขี้เมาส์ ชอบประจบ เห็นแก่ตัว ไม่รับผิดชอบในหน้าที่การงาน แต่กลับโยนภาระมาให้เราจนทำให้เราขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานและขาดบรรยากาศในการทำงานที่ดี
2. หัวหน้างาน หนึ่งในปัญหายอดฮิตที่คุณไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ เพราะถึงอย่างไรเขาก็เป็นเจ้านายของคุณ บางคนมีนิสัยเสียชอบคนขี้ประจบ เป็นคนเจ้าอารมณ์ วันดีคืนดีก็เรียกลูกน้องเข้าไปต่อว่าโดยไม่มีสาเหตุ ทำให้บรรยากาศไม่เอื้อต่อการทำงาน
3. การเดินทาง คนที่ทำงานโดยใช้เวลาเดินทางวันละ 2 ชั่วโมงขึ้น คนกลุ่มนี้มักจะรู้สึกเกิดความเบื่อหน่ายในการเดินทางไปทำงาน โดยมีสาเหตุมาจากปัญหารถติด อากาศร้อนอบอ้าว มลภาวะ เมื่อไปถึงที่ทำงานก็รู้สึกเหนื่อยล้า ทำงานแล้วก็ขาดประสิทธิภาพ
7วิธีรับมือโรคเกลียดวันจันทร์
เมื่อรับทราบถึงสาเหตุของโรคเกลียดวันจันทร์แล้ว เรามีเคล็ดลับดีๆ ที่ทำได้ง่ายมาให้คุณลองปฏิบัติกันค่ะ
1. อย่าเครียด เพราะการทำงานทั้งวันในแต่ละวันนั้น สร้างภาวะความเครียดให้คุณได้มากมาย เมื่อเริ่มเครียดหรือหรือเหนื่อยล้าขึ้นมา ให้หยุดทำงานนั้นสัก 10 นาที ออกไปเดินสูดอากาศนอกห้องให้สมองปลอดโปร่ง หรือแวะเติมความสดชื่นกับเครื่องดื่มแก้วโปรดสักแก้ว ค่อยกลับมาลุยงานต่อ หรือใช้ช่วงเวลาพักเที่ยงเลือกทำกิจกรรมที่เราชอบ เช่น อ่านหนังสือที่ถูกใจ หรือ ฟังเพลงสุดโปรด ก็ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้ไม่ยาก
2. มีสติตลอดเวลา ในการเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่นั้น เชื่อแน่ว่าจะต้องมีงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาในความรับผิดชอบของคุณได้เสมอๆ ทางที่ดีควรตั้งสติและพร้อมเผชิญหน้ากับงานที่จะเข้ามาใหม่ รวมทั้งจัดสรรเวลาการทำงานให้เหมาะสมจะได้ไม่ยุ่งยากภายหลัง เพราะงานทุกงานที่ได้รับมอบหมาย คือสิ่งที่คุณต้องทำให้สำเร็จ
3. เคลียร์งานให้เสร็จสิ้น วันศุกร์แสนสุขของคนทำงานส่วนใหญ่ ทุกคนอยากรีบกลับบ้านไปนอนเล่นพักผ่อนให้เต็มที่ แต่เมื่อกลับมาทำงานวันจันทร์หลายคนจะพบงานเก่าที่คั่งค้างต่อเนื่องมาจากวันศุกร์ที่แล้ว แถมด้วยงานใหม่อีกกองพะเนิน ดังนั้นเราขอแนะนำให้คุณสละเวลาสักเล็กน้อยเคลียร์งานให้เสร็จสิ้นก่อนส่วนหนึ่งตั้งแต่วันศุกร์ พร้อมจัดทำรายการงานต่างๆ ที่ยังคั่งค้าง เพื่อที่จะมาสะสางและสานต่องานใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและง่ายดายขึ้น
4. จัดลำดับงาน งานแต่ละชิ้นมีความสำคัญและความเร่งด่วนแตกต่างกัน การจัดลำดับความสำคัญของงานจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้เงื่อนไขเวลาเป็นตัวกำหนดว่างานไหนส่งก่อนส่งหลัง แล้วจัดการเขียนลำดับงานที่มีความสำคัญมากน้อยตามลำดับออกมาเป็นข้อๆ นอกจากจะช่วยเตือนให้คุณไม่หลงลืมทำงานต่างๆ ให้เรียบร้อยแล้ว ยังสามารถลดความกังวลและความเครียดให้กับจิตใจด้วย ที่สำคัญการจัดลำดับงานเช่นนี้จะช่วยให้คุณเหลือเวลาและพลังงานสมองไว้ใช้ทำงานเพิ่มอีกด้วย
5. เข้างานเช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะในวันจันทร์ลองเข้างานเช้ากว่าปกติสักนิด เพื่อจัดสรรระเบียบให้กับการทำงานในวันจันทร์ และทำงานที่เหลืออยู่ให้เสร็จสิ้นลง เพื่อให้การทำงานตลอดสัปดาห์ที่เหลือเป็นเรื่องง่ายขึ้น ใครที่เคยมาทำงานสายๆ ลองมาทำงานเช้าดูสักวัน แล้วคุณจะพบว่าในยามที่ยังไม่มีเพื่อนร่วมงานมาทำงานนั้น เป็นเวลาที่คุณมีสมาธิมากทีเดียว
6. หยุดคิดเล็กคิดน้อย อย่านำเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาเป็นอารมณ์ เพราะสิ่งที่ผ่านไปแล้ว คุณควรปล่อยให้ผ่านไป หลายคนมัวแต่ใส่ใจเรื่องดังกล่าว จนไม่มีเวลาพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น พยายามปรับความคิดใหม่ๆ เวลาทำงานในแต่ละวันก็มุ่งไปที่เป้าหมายของคุณ ทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ความคิดเหล่านี้จะช่วยให้กระตือรือร้นและสนุกกับงานมากขึ้น
7. เติมเต็มกำลังใจ ลองหาเพื่อนสนิทในที่ทำงานไว้ปรึกษาหารือ หรือแบ่งเบาทุกข์สุข ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยคุณต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นให้ได้ และลองหยิบยื่นน้ำใจให้กับคนอื่นก่อน โดยเรียนรู้ถึงพื้นฐานจิตใจของเพื่อน เพราะแต่ละคนมีความต้องการและความปรารถนาไม่เหมือนกัน นอกจากน้ำใจแล้ว น้ำคำ หรือคำพูดก็สำคัญ คำพูดง่ายๆ แต่จริงใจเช่น ขอบคุณ และ ขอโทษ ก็จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนกระชับแน่นแฟ้นขึ้น Charge Up เติมพลังให้สดชื่นก่อนไปทำงาน
เลิกปาร์ตี้ี้ (โดยเฉพาะคืนวันอาทิตย์) แล้วหันมาพักผ่อนให้เต็มที่ พร้อมหากิจกรรมดีๆ มาช่วยให้คุณผ่อนคลายในวันหยุดอย่างอ่านหนังสือ เล่นโยคะ เล่นกีฬาที่ตัวเองโปรดปราน ก่อนนอนก็สวดมนต์ทำสมาธิ เพื่อให้จิตสงบขึ้นและนอนหลับสบาย เตรียมพร้อมทั้งกายใจเพื่อต้อนรับการทำงานวันแรกของสัปดาห์อย่างสดชื่น
เข้านอนเร็วขึ้นและตื่นเช้าขึ้น จะช่วยให้ร่างกายคุณได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แถมตื่นขึ้นก็สดชื่นจิตใจแจ่มใส ไม่งัวเงีย หรือไปนั่งหลับในที่ทำงาน
กินอาหารเช้ารองท้อง จะทำให้ท้องคุณสงบลงและมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น หากได้ดื่มน้ำผลไม้ด้วยยิ่งดี นอกจากมีประโยชน์แล้วยังช่วยให้ร่างกายสดชื่นและไม่อ้วนอีกต่างหาก
ข้อมูลและภาพประกอบจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น