Thank...you

+++ขอบคุณสำหรับการเข้ามาชมบล็กนะค่ะ+++

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

!!!World AIDS Day!!!




World AIDS Day, observed December 1 each year, is dedicated to raising awareness of the AIDS pandemic caused by the spread of HIV infection. AIDS has killed more than 25 million people[citation needed], with an estimated 33.2 million people living with HIV[citation needed], making it one of the most destructive epidemics in recorded history. Despite recent, improved access to antiretroviral treatment and care in many regions of the world, the AIDS epidemic claimed an estimated 3.1 million (between 2.8 and 3.6 million) lives in 2005, of which more than half a million (570,000) were children.
The concept of a World AIDS Day originated at the 1988 World Summit of Ministers of Health on Programmes for AIDS Prevention. Since then, it has been taken up by governments, international organizations and charities around the world.
From its inception until 2004,
UNAIDS spearheaded the World AIDS Day campaign, choosing annual themes in consultation with other global health organizations. In 2005 this responsibility was turned over to World AIDS Campaign (WAC), who chose Stop AIDS: Keep the Promise as the main theme for World AIDS Day observances through 2010, with more specific sub-taglines chosen annually. This theme is not specific to World AIDS Day, but is used year-round in WAC's efforts to highlight HIV/AIDS awareness within the context of other major global events including the G8 Summit. World AIDS Campaign also conducts “in-country” campaigns throughout the world, like the Student Stop AIDS Campaign, an infection-awareness campaign targeting young people throughout the UK.
World AIDS Day banner, European Commission building, Brussels
A large
red ribbon hangs between columns in the north portico of the White House for World AIDS Day, November 30, 2007
A 67 m long "condom" on the
Obelisk of Buenos Aires, Argentina, part of an awareness campaign for the 2005 World AIDS Day
It is common to hold memorials to honor persons who have died from HIV/AIDS on this day. Government and health officials also observe, often with speeches or forums on the AIDS topics. Since 1995 the
President of the United States has made an official proclamation on World AIDS Day. Governments of other nations have followed suit and issued similar announcements.

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)





พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (จนฺทสโร หมายถึง ผู้นำแสงสว่างมาสู่โลก ประดุจพระจันทร์ส่องสว่างยามราตรี) เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตรสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี หรือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ เดิมชื่อ สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน ท่านนับเป็นองค์ปฐมบรมครูแห่งวิชชาธรรมกายในยุคปัจจุบัน
ชีวิตในช่วงต้น

เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน-อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง
เมื่อท่านอายุได้ 14 ปีโยมบิดาได้ถึงแก่กรรมลงท่านจึงรับภาระดูแลการค้าแทน ท่านฉลาดในการปกครอง ลูกเรือต่างก็รักนับถือท่านและเนื่องจากท่านเป็นคนขยันขันแข็งในการทำงาน อาชีพการค้าจึงเจริญขึ้นโดยลำดับ จนปรากฏในยุคนั้นว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง วันหนึ่งเมื่อท่านนำเรือเปล่ากลับบ้านพร้อมเงินรายได้จากการขายข้าวผ่านลัดคลองเล็กซึ่งชาวบ้านเรียกว่า คลองบางอีแท่น มีโจรผู้ร้ายชุกชุมท่านนึกถึงความตายขึ้นมา และได้อธิษฐานจิตในขณะนั้นว่า ขออย่าให้ข้าพเจ้าตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอาย ไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ 19 ปี หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต
อุปสมบท
เดือนกรกฎาคม 2449 ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่า สด จนฺทสโร พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่ง อินทสุวณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดทั้งสองรูปอยู่วัดเดียวกัน คือวัดสองพี่น้อง ในการเรียนด้านคันถธุระในพรรรษาแรก ท่านสงสัยอยากรู้คำแปลคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา ซึ่งไม่มีใครทราบ ท่านจึงเกิดความดำริที่จะไปเรียนคันถุระต่อที่กรุงเทพ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านเริ่มปฏิบัติสมถวิปัสสนากับองค์อนุสาวนาจารย์นับแต่วันบวช เมื่อบวชแล้วพอรุ่งขึ้นอีกวัน หลวงพ่อก็เริ่มลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานต่อกับพระอาจารย์เนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษาเมื่อออกพรรษาที่วัดสองพี่น้องแล้ว ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษา ณIวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อศึกษาด้านคันถธุระต่อ ในสมัยนั้นนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน ขณะที่ท่านเรียนทางด้านคันถธุระอยู่นั้น ก็ได้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระควบคู่ไปด้วย โดยการศึกษากับพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสำนักต่าง ๆ ท่านได้ไปศึกษากับ ท่านเจ้าคุณสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ท่านพระครูฌาณวิรัติ วัดพระเชตุพน และสำนักของพระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ จนได้ผลการปฏิบัติเป็นที่พอใจของพระอาจารย์ เมื่อได้ศึกษาภาวนาวีธีจนมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งจากพระอาจารย์ทั้งจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ มีวิสุทธิมรรค เป็นต้น ได้แสวงหาที่หลีกเร้น มีความวิเวก เป็นสัปปายะต่อการปฏิบัติธรรมดังนั้นในพรรษาที่ 11 จึงได้กราบลา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( เข้ม ) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ เพื่อไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนบุรี
เข้าถึงธรรมกาย
ในพรรษาที่ 11 ท่านได้ไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ท่านได้มีความคิดที่จะกระทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ตั้งแต่เช้าตรู่ “เราบวชมาจวนจะครบ 12 พรรษาแล้ว วิชชาของพระพุทธเจ้าเรายังไม่ได้บรรลุเลย ทั้งที่การศึกษาของเราก็ไม่เคยขาดเลยสักวันทั้งคันถธุระและวิปัสนาธุระ อย่าเลย ควรจะรีบกระทำความเพียรให้รู้เห็นของจริงในพระพุทธศาสนาเสียที” เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้วท่านก็รีบจัดการภารกิจต่างๆให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่มีเรื่องกังวลใจ เสร็จแล้วก็ได้เข้าเจริญภาวนาในอุโบสถ โดยตั้งใจว่าหากไม่ได้ยินเสียงกลองเพลจะไม่ยอมลุกจากที่ เมื่อตั้งใจแล้วก็หลับตาภาวนา “สัมมา อะระหัง” เรื่อยไปจนกระทั่งความปวดเมื่อยและอาการกระสับกระส่ายเริ่มติดตามมา จิตก็ซัดส่ายกระวนกระวายจนเกือบจะหมดความอดทน แต่ได้ตั้งสัจจะไว้แล้วจึงทนนั่งต่อไป เมื่อไม่สนใจความปวดเมื่อยของสังขาร ในที่สุดใจก็ค่อยๆ สงบลงทีละน้อยแล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก
เย็นวันนั้นหลังจากได้ฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนสหธรรมิกแล้ว ท่านได้รีบทำภารกิจส่วนตัวสรงน้ำให้ร่างกายสดชื่นดีแล้ว จึงเข้าไปในอุโบสถแต่เพียงรูปเดียว เมื่อกราบพระประธานแล้วก็ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ขอให้พระองค์ทรงพระเมตตาโปรดประทานธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดก็ยินดี ถ้าหากการบรรลุธรรมของข้าพระองค์ฯจักเกิดโทษแก่พระศาสนาก็ขออย่าได้ทรงประทานเลย แต่ถ้าจะเป็นคุณแก่พระศาสนาแล้ว ขอได้โปรดประทานแก่ข้าพระองค์ฯด้วยเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะขอรับเป็นทนายพระศาสนาต่อไปจนตลอดชีวิต”
เมื่อได้ตั้งสัตยาธิษฐานแล้วท่านก็เริ่มนั่งหลับตา ขณะนั้นมีมดอยู่ในช่องแผ่นหินที่ท่านนั่ง กำลังไต่ขึ้นมารบกวนท่าน จึงหยิบขวดน้ำมันก๊าดขึ้นมา เพื่อจะทากันมด แต่แล้วก็คิดได้ว่า ชีวิตของเรา เราได้สละแล้วเพื่อการบำเพ็ญเพียร แต่เหตุไฉนจึงยังกลัวมดอยู่อีก จึงวางขวดน้ำมันก๊าดลง เจริญกัมมัฏฐานต่อไป จนถึงยามดึกจึงได้เริ่มเห็นดวงปฐมมรรคหรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่อได้รู้เห็นธรรมะแล้วท่านจึงได้เข้าใจว่า “พระธรรมนี้เป็นของลึกซึ้งยิ่งนัก ยากที่มนุษย์จะเข้าถึง การจะเข้าให้ถึงได้ต้องรู้ตรึก รู้นึก รู้คิด ต้องหยุดเป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด ถ้าไม่ดับก็ไม่เกิดนี่เป็นของจริง ของจริงต้องอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนนี้เป็นไม่เห็นเด็ดขาด” เมื่อมองเรื่อยไปก็เห็นดวงใหม่ผุดซ้อนขึ้นมาแทนที่ดวงเก่า แต่ใสสว่างมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดก็เห็นกายต่างๆ ตามลำดับจนกระทั่งถึง ธรรมกาย
ได้เริ่มเห็นผังของจริงของพระพุทธเจ้า ( ธรรมกายโคตรภู ) ในระหว่าง มัชฌิมยามกับปัจฉิมยามติดต่อกัน ท่านได้รำพึงว่า ธรรมเป็นของลึกซึ้งถึงเพียงนี้ ใครจะไปคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัย ของความตรึก นำ คิด ถ้ายังตรึก นึก คิด อยู่ก็ไม่ถึง ที่จะเข้าให้ถึงต้องทำให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิด นั้นหยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วก็ไม่เกิด ตรองดูเถิดท่านทั้งหลายนี่เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด รำพึงอย่างนี้สักครู่ใหญ่ เกรงว่า ความมีความเป็นนั้นจะเลือนไปเสียจึงเข้าที่ ดำรงสมาธิมั่น ต่อไปตลอดปัจฉิมยาม ในขณะดำรงสมาธิมั่น อยู่อย่างนั้น เห็นวัดบางปลา ปรากฏขึ้นในนิมิต จึงเกิดญาณทัสสนะขึ้นอยู่ว่า ธรรมที่รู้ว่าได้ยากนั้น ในวัดบางปลานี้ จะต้องมีผู้รู้เห็น ได้อย่าง แน่นอน ออกพรรษาแล้วได้ไปสอนที่วัดบางปลา 4 เดือน มีพระทำเป็น ได้พระธรรมกาย 3 รูป คือ พระสังวาลย์ พระแบน และพระอ่วม กับคฤหัสถ์ 4 คน นับแต่นั้นมาหลวงพ่อ ก็เป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่คนเคารพ รู้จักและยกย่องบูชากันทั่วไป คำว่า
ธรรมกาย นี้ มีพระบาลี รับรองว่า ตถาคตสส วาเสฏฐ เอตํ ธมมกาโยติ วจนํ ดูกรวาเสฏฐะ ธรรมกายนี้เป็นชื่อของพระตถาคต และมีพระบาลีปรากฏในอัคคัญญสูตร ปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย พระสุตตันตปิฎกรับรองว่า ตถาคตสส เหตํ วาเสฏฐา อธิวจนํ ธมมกาโย อิติปิ ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ เพราะคำว่าธรรมกายนี้เป็นชื่อของ ตถาคต
คติธรรม

- เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำ จะเกิดมาทำไม อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตมันเป็นห่วงเป็นใย
เลิกอยากลาหยอก รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า "นิพพาน" ก็ได้
- ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
- ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี่แหละเป็นตัวสำเร็จ
- ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย

แผนที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม


วิชชา ธรรมกาย


เนื้อหาวิชชา ธรรมกาย
วิชชา ธรรมกาย เป็นวิชชาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้สูญหายไปหลังจากที่พระองค์ทรงปรินิพพานไปได้ 500 ปี โดยประมาณ และได้รับการค้นพบอีกครั้ง โดยการเอาชีวิตเข้าแลกของ พระมงคลเทพมุนี ( หลวงพ่อสด หรือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) หรือที่เรารู้จักกันในนาม " หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ " นั่นเอง
การเรียนการสอนในสมัยที่ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ยังมีชีวิตอยู่นั้น เป็นการสอนแบบปากต่อปาก โดยในวิชชาเบื้องต้น หลวงพ่อสด จะสอนเอง หรือให้ลูกศิษย์ของท่านเป็นผู้สอน ได้แก่ แม่ชีทองสุข สำแดงปั้น เป็นต้น แต่ในวิชชาชั้นสูงนั้น หลวงพ่อได้สอนกันหมู่ศิษย์ที่เป็น ธรรมกาย ชั้นสูงเท่านั้น โดยรวมกันทำวิชากันในกุฏิของหลวงพ่อ (สมัยนั้นเรียกว่า “ โรงงานทำวิชา ”) คนที่จะไปรู้เห็นเรื่องราวเหล่านี้ได้ ต้องเป็น วิชชา ธรรมกาย ชั้นสูง แล้วเท่านั้น เนื่องจากความละเอียด ซับซ้อน ของวิชชานั่นเอง ซึ่งยากที่บุคคลทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อนจะเข้าใจได้
ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะศึกษา วิชชา ธรรมกาย นั้น ขอท่านได้โปรดทำตามคำแนะนำต่อไปนี้
1. ขอท่านโปรดวางความรู้ดั้งเดิมที่ท่านเคยเคยได้รับรู้มาเสียก่อน (เท่าที่ท่านจะสามารถทำได้) เป็นการชั่วคราว ซึ่งความรู้ดั้งเดิมนั้น ได้แก่
- การเรียนวิชา ธรรมกาย ชั้นสูงจะต้องรอให้เห็นวิชชาเสียก่อน ถึงจะสามารถอ่านตำราวิชชา ธรรมกาย ได้ ท่านได้ตั้งข้อจำกัดให้กับตัวท่านเองแล้วโดยที่ไม่รู้ตัว ขอท่านลองคิดต่อไปว่า ตำราทำไว้ให้ท่านอ่าน ให้ท่านศึกษา ถ้าท่านไม่อ่าน ไม่ค้นคว้า ตำราที่เขียนไว้ก็ไม่มีประโยชน์ และความรู้ก็มีแต่จะกร่อนและสูญไปเรื่อย ๆ นั่นประการหนึ่ง และถ้าหากท่านไปเห็นวิชชาในตอนที่อายุมากแล้ว การศึกษาเรียนรู้ของท่านจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเทียบเท่ากับเมื่อท่านอายุยังน้อยได้หรือ? ขอท่านโปรดตรองเหตุผลนี้ดู และถ้าหากท่านไม่เห็นเลย ชาตินี้ท่านก็ไม่ได้อะไรไปเท่าไร ชาติหน้ามันแน่อยู่หรือ? ท่านแน่ใจหรือว่า ท่านจะพบกับวิชชาได้เหมือนกับชาตินี้?
- ถ้าอ่านตำราแล้ว การรู้เห็นก็จะเป็นไปตามตำรา ในประเด็นนี้ขอท่านทำความเข้าใจคร่าว ๆ ก่อนว่า วิชชา ธรรมกาย ได้รับการค้นพบและพัฒนาทางวิชชามาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยประสบการณ์ของ หลวงพ่อวัดปากน้ำ และคณะศิษย์ที่ได้ทำวิชชามาแล้วในครั้งอดีต อย่างน้อย ๆ เป็นระยะเวลากว่า 30 ปี หลังจากนั้นจึงได้นำเอาประสบการณ์ทางวิชชาที่ได้ประสบมาหลายปีนั้นมาเขียนเป็นตำราวิชชา ธรรมกาย ขึ้นมา ถ้าท่านไม่อ่านตำรา ท่านก็จะต้องคิดค้นวิชชาเอาเอง ท่านต้องลองผิดลองถูกเอาเอง ท่านต้องใช้ระยะเวลากี่ปี กว่าที่ท่านจะสามารถค้นคว้าความรู้ได้เท่ากับที่ หลวงพ่อสด และคณะศิษย์ค้นคว้า ซึ่งเป็นการเสียเวลาในการศึกษาไป ดังนั้น ขอท่านโปรดอ่านตำรา และศึกษาตามตำราให้กระจ่างชัดเถิด หลังจากนั้น หากความรู้ของท่านพ้นเกินจากตำราของหลวงพ่อแล้ว จะเป็นบทบาทของท่านที่จะต้องคิดวิชชาใหม่ ๆ ต่อไป เป็นการต่อยอดความรู้ต่อไป และไม่ทำให้วิชชาสูญหายไปอีกด้วย
2. ขอให้ท่านศึกษาทุกวิชชาจากทุกตำราให้จบเสียก่อน โดยวิธีการอ่านให้จบทุกเล่ม ไม่ว่าท่านจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม ยังไม่ต้องตัดสินอะไรทั้งนั้น ขอเพียงแค่อ่านให้จบเท่านั้นเอง แล้วท่านจะพบความลึกซึ้งและความเป็นเหตุเป็นผลของวิชชา ที่เชื่อมโยงกันได้อย่างอัศจรรย์ ซึ่งเชื่อว่า ในตำราเหล่านี้ จะต้องสามารถตอบข้อสงสัยของท่านได้อย่างแน่นอน
3. ท่านสามารถศึกษาโดยการอ่านได้จาก ตำราฉบับดั้งเดิม หรือหากท่านไม่เข้าใจในสำนวนภาษาแบบโบราณ (ในสมัยของ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ) ก็ขอให้ท่านอ่านบทขยายความและแนวเดินวิชชา ซึ่งจัดทำโดย นาย การุณย์ บุญมานุช อดีตผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี ได้
4. ขอท่านโปรดศึกษาค้นคว้าในวิชาในหลักสูตรเบื้องต้นเสียก่อน เพื่อปูพื้นฐานความรู้ของท่าน จากนั้นค่อยยกระดับสู่วิชชา ธรรมกาย ในระดับที่สูงกว่าต่อไป หรือถ้าท่านจะศึกษาจากวิชชา ธรรมกาย ชั้นสูงก่อนก็ย่อมได้ แต่ขอท่านอย่าเพิ่งด่วนตัดสินผิดถูก ขอให้อ่านให้ทั่วเสียก่อน ให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดเสียก่อน ให้เข้าใจอย่างแท้จริงเสียก่อน หลังจากนั้น หากท่านจะวิเคราะห์วิจารณ์ด้วยเหตุผลประการใด ก็ย่อมทำได้ แต่ในเบื้องต้นนี้ ขอเพียงท่านน่าจะมีข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้องและครบถ้วนเสียก่อน

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Thé

Le thé est une boisson stimulante, obtenue par infusion des feuilles du théier, préalablement séchées et le plus souvent oxydées.
D'origine chinoise, où il est connu depuis l'Antiquité, le thé est aujourd'hui la boisson la plus bue au monde après l'eau. La boisson elle-même peut prendre des formes très diverses : additionnée de lait et de sucre au Royaume-Uni, longuement bouillie avec des épices en Mongolie, préparée dans de minuscules théières dans la technique chinoise du gōngfū chá, la cérémonie du thé.
Par analogie, le mot désigne, dans certaines régions francophones une infusion préparée à partir d'autres plantes (par ex. thé de tilleul) bien que l'on doive parler plus proprement de tisane. Il en est de même dans certains pays où le thé ne fait pas partie d'une culture ancienne (Allemands ou Italiens parlent ainsi de "Tee" et de "Tè" quelle que soit la plante utilisée) et où le café prédomine largement le secteur des boissons chaudes.

Le mot « thé »
Le sinogramme pour thé est 茶 qui a deux prononciations différentes suivant les dialectes. Et le mot signifiant thé dans presque toutes les langues du monde dérive de l'une ou l'autre de ces deux prononciations.
La prononciation officielle (aussi utilisée en cantonais et en mandarin), qui s'est sans doute répandue depuis Canton et Hong Kong, est chá, et vient du mot cueillir. Plusieurs langues l'ont empruntée dont le portugais (chá), le tchèque (tchaï), le russe (tchaï), le japonais (茶, ちゃ, cha), l'arabe (chaï), le hindi (chaï), le turc, l'arménien oriental et le persan. Le vietnamien vient de cette orthographe également, mais le mot a évolué pour devenir trà, cependant, dans certains dialectes, la prononciation "chà" est restée.
L'autre prononciation est te qui vient du chinois désignant cette boisson dans le dialecte minnan, parlé notamment dans le Sud du Fujian où se trouve le port de Fuzhou aussi appelé Amoy par les Malais et qui servit de base à l'exportation des premiers thés par mer.
Les Hollandais qui introduisirent le thé en Europe en 1606, l'ayant acheté à Java, le nommèrent thee, d'où le français thé, l'anglais tea, l'allemand Tee, etc.
Dans les pays où la prononciation commence par "ch" le thé s'est répandu par les terres et surtout au début par la Russie, alors que dans les pays où la prononciation commence par "te" il s'est répandu par la mer.
En Amérique du Sud le thé est parfois désigné par un terme sans relation aucune avec le chinois. Une autre boisson stimulante, le maté, était consommée bien avant l'introduction du thé, aussi dans différents endroits d'Amérique du Sud, tout particulièrement dans les pays andins, le thé est appelé maté.

Thé vert
Le thé vert est un thé dont les feuilles, après la cueillette, seront le plus souvent flétries et chauffées à haute température, afin de neutraliser les enzymes responsables de l'oxydation. Elles seront ensuite roulées et séchées plusieurs fois afin d'obtenir une forme particulière. On peut distinguer deux méthodes principales pour obtenir du thé vert. La méthode chinoise, d'une part, par laquelle les feuilles sont chauffées dans de grandes bassines de cuivre placées sur le feu ; la méthode japonaise, d'autre part, par laquelle les feuilles seront chauffées à la vapeur, très brièvement, en moins d'une minute, avant d'être roulées et séchées.

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ดอกแก้วกัลยา


ดอกแก้วกัลยา คือชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่งซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามดอกไม้ประดิษฐ์โดยคนพิการของศูนย์ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคนพิการ ทั้งยั้งทรงพระราชทานพระอนุญาตให้ใช้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ ของคนพิการ
ที่มาของชื่อ ดอกแก้วกัลยา
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามดอกไม้ประดิษฐ์โดยคนพิการของศูนย์ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคนพิการ สภาสังคมสงเคราะห์ฯ ว่า "ดอกแก้วกัลยา" ทั้งทรงพระราชทานพระอนุญาตให้ใช้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ ของคนพิการ และทรงมีพระดำรัสให้ฝึกอบรมวิชาชีพคนพิการเพื่อประดิษฐ์ดอกแก้วกัลยา ให้คนพิการมีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2547 ตามที่ศูนย์ส่งเสริมอาชีพฯ ได้มีหนังสือขอพระราชทานพระอนุญาต
ดอกแก้วกัลยาได้จดลิขสิทธิ์ 2 ฉบับ คือ
1.ในนามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และทรงมอบให้คณะกรรมการส่งเสริมอาชีพ ฯ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
2.ในนามศูนย์ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคนพิการ
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ดอกแก้วกัลยานั้นเป็นดอกไม้ในจินตนาการ มาจากดอกไม้ 2 ชนิดด้วยกันคือ
ดอกแก้ว และดอกแก้วเจ้าจอม ที่มีกลีบดอกสีฟ้าคราม ซึ่งดอกแก้วทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นดอกไม้ยืนต้นที่แข็งแรง ใบสวยงาม ออกดอกเป็นพวง ให้ความหมายเปรียบเทียบประดุจคนเราทุกคนมีน้ำใจเป็นหนึ่งเดียว เพราะฉะนั้นความหมายโดยรวมของดอกแก้วกัลยานั้นคือ ดอกไม้จากนางแก้ว ที่มีน้ำพระหฤทัยสดใส ให้แสงสว่างอบอุ่นกับมวลหมู่คนพิการในแผ่นดินไทย ดั่งน้ำพระหฤทัยจากองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เกร็ดน่ารู้ เกี่ยวกับโบราณราชประเพณี



การสางพระเกศาขึ้น-ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางทิ้ง
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สางพระเกศาพระศพขึ้น 1 ครั้ง ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางวางไว้ในพาน แสดงถึงว่าเป็นการสาง (หวี) พระเกศาครั้งสุดท้าย พอเป็นพิธี เพื่อแสดงว่าไม่ต้องการความสวยงาม หรือมีความจำเป็นต้องแต่งกายใดๆ อีก
เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพ
เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพนั้นจะแตกต่างกันไป ตามพระอิสริยยศที่แตกต่างกัน ในส่วน สัปตปฎลเศวต ฉัตรยอดพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นฉัตรผ้าขาวเจ็ดชั้นระบายขลิบทองสามชั้น หมายถึงการซ้อนผ้าระบายโดยรอบแว่นฉัตรแต่ละชั้น ซ้อนกันสามรอบวงแว่นฉัตร โดยให้ชั้นในสุดยาวกว่าชั้นนอกสุดตามลำดับ ทุกชั้นฉัตรที่ชายระบายชั้นล่างสุดของชั้นฉัตร ห้อยระย้าจำปาทองโดยรอบ
การประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง
การสวดพระพิธีธรรมพระอภิธรรม จะมีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น.
สมเด็จพระพี่นางเธอฯ อยู่ในลำดับพระอิสริยยศชั้น "เจ้าฟ้า"
ภาษาที่ใช้เรียกในการประกอบพิธีพระบรมศพ "พระศพ" จะเรียกแตกต่างกันตามพระอิสริยยศ โดยสมเด็จเจ้าฟ้า จะเรียกว่า "พระศพ" ส่วนพระยศที่สูงกว่า ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี จะเรียกว่า "พระบรมศพ"
การบรรจุพระศพลงหีบพระศพแทนพระโกศ
ตามโบราณราชประเพณีเมื่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เสด็จสวรรคต จะประกอบพิธีบรรจุพระบรมศพ พระศพ ลงในพระโกศ แต่ในรัชกาลปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เชิญพระบรมศพ และพระศพ ลงหีบพระศพ แทนใส่การใส่พระโกศ ซึ่งสามารถทำได้ตามพระราชอัธยาศัย
รูปแบบพระเมรุ"พระเมรุ"
เป็นกุฎาคารเรือนยอดประธานมณฑล หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นพระเมรุทรงปราสาทจัตุรมุขย่อมุมไม้สิบสอง ปักพระสัปตปฎลเศวตฉัตร จากฐานถึงยอดฉัตรสูง 38.65 เมตร กว้าง 31.80 เมตร ยาว 39.80 เมตร สร้างด้วยไม้ โครงสร้างภายในเป็นเหล็กประดับด้วยผ้าทองย่นตกแต่งด้วยลวดลาย สำหรับรูปแบบพระเมรุยอดปราสาท ได้ศึกษาจากการออกแบบพระเมรุมาศของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยยึดเค้าโครงพระเมรุมาศของสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี มาเป็นต้นแบบ โดยแนวคิดหลักได้ยึดถือความเชื่อ เรื่องเขาพระสุเมรุ ตามแบบโบราณราชประเพณี ด้วยการจำลองปราสาท ซึ่งเปรียบเสมือนสถานที่สถิตของเหล่านางฟ้า เทวดา มาเป็นตัวองค์ของพระเมรุ ส่วนยอดพระเมรุ ประกอบด้วย ยอดชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น ต่อยอดด้วย ชั้นบัวคลุ่มจนถึงปลายยอดประดับฉัตร 7 ชั้น เอกลักษณ์ของพระเมรุ ที่จะใช้ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อยู่ที่หน้าบันทั้ง 4 ทิศ เนื่องจากได้อัญเชิญตราพระราชลัญจกร กว ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาประดิษฐานที่หน้าบันของพระเมรุทั้ง 4 ด้าน
องค์พระเมรุทั้งด้านในและด้านนอก ประดับตกแต่งด้วยผ้าทองย่นเกือบทั้งหมด ใช้สีทองเป็นหลักและประกอบด้วยสีอื่นๆ ที่เป็นสีอ่อนหวาน เหมาะกับพระอุปนิสัยและพระจริยาวัตรที่นุ่มนวลสง่างามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ด้านหลังของพระเมรุ จะเห็นอาคารยาวเรียกว่า พระที่นั่งทรงธรรม เป็นอาคารโถงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุ ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงธรรมและทรงประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในการออกพระเมรุพระศพ รวมทั้งมีที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน สมาชิกรัฐสภา ตลอดจนคณะทูตานุทูต เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
อาคาร 2 หลัง ที่อยู่ด้านข้างทั้งซ้ายและขวาของพระที่นั่งทรงธรรม เรียกว่า ศาลาลูกขุน เป็นอาคารโถงทรงโรง สร้างตรงปลายปีกพระที่นั่งทรงธรรม ทั้งด้านทิศเหนือและทิศใต้ ใช้เป็นที่เข้าเฝ้าฯของข้าราชการ
หีบพระศพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ นายพรเทพ สุริยา เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ จัดสร้าง "หีบพระศพ" สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้ทำหีบพระศพให้คล้ายคลึงกับหีบพระศพของสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี ดังนั้น จึงมีการสร้างหีบพระศพทรงหลุยส์ผสมบุษบกจากแผ่นไม้สักทอง อายุ 100 ปีขนาดใหญ่เพียงแผ่นเดียว ที่นำมาจาก จังหวัดเชียงใหม่ ไม่มีรอยต่อ และใช้หมึกจีน พ่นสีโอ๊กม่วง ขนาดความกว้าง 26 นิ้ว ความยาว 2 .29 เมตร น้ำหนักเกือบ 300 กิโลกรัม ทั้งนี้ สีโอ๊กม่วงนั้น เป็นสีที่เข้มแข็ง น่าเชื่อถือและเหมาะสมกับงานหีบพระศพดังกล่าว ประกบด้วยปุ่มมะค่าทองรอบใบ ลวดลายของหีบพระศพเป็นลายกุหลาบ แสดงถึงความรัก ส่วนด้านขอบล่างเป็นลายหลุยส์ ส่วนฝาด้านบนเป็นบุษบก 3 ชั้น ภายในหีบพระศพใช้ผ้าไหมสีครีมทองประดับตกแต่งและดิ้นชายรอบ ทั้งนี้ การออกแบบและจัดสร้างทั้งหมดใช้เวลา 30 วัน ภายใต้การดูแลของสำนักพระราชวัง
พระโกศไม้จันทน์
ในส่วนของ "พระโกศไม้จันทน์" ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทางสำนักพระราชวัง ได้นำคณะพราหมณ์ทำพิธีบวงสรวงเทพยดาป่าขออนุญาตนำไม้จันทน์หอม จำนวน 3 ต้น ภายในอุทยานแห่งชาติ กุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาจัดสร้างพระโกศ ที่ออกแบบและจัดสร้างโดย นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น มีลักษณะเป็นทรง 8 เหลี่ยม ในอัตราส่วน 1:5 ในส่วนของการปรับขยายแบบให้เท่าของจริงเป็นหน้าที่ของ สมชาติ มหัทธนะสิน
สำหรับจัดสร้างพระโกศ ในสมัยโบราณจะนำไม้จันทน์มาเป็นฝืนในการเผาศพ แต่สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ จะถูกนำมาแปรรูปจากท่อนฟืนให้มีลวดลายขึ้นเป็นพระโกศไม้จันทน์ มีการเลื่อยไม้เป็นแผ่นบางๆ ติดแบบทำการฉลุลาย จากนั้นนำมาประกอบติดกับโครงซึ่งโบราณจะใช้โครงไม้ แต่ในปัจจุบันดัดแปลงมาเป็นโครงลวดเหล็ก บุตาข่าย เพื่อความสะดวกในการจัดสร้าง
ทั้งนี้ "พระโกศไม้จันทน์" จะมีขนาดความสูง 162.5 เซนติเมตร มีความกว้างส่วนฐาน 82 เซนติเมตร จะประกอบด้วยชิ้นส่วนของลวดลายต่างๆ รวมทั้งสิ้น 6,033 ชิ้น ส่วนฐานรองพระโกศเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฝาปิด ขนาดความยาว 260 เซนติ เมตร กว้าง 140 เซนติเมตร สูง 92 เซนติเมตร ใช้จำนวนชิ้นลายทั้งสิ้น 10,159 ชิ้น ลวดลายที่ใช้ประกอบ มีทั้งสิ้น 35 แบบ อาทิ ลายหน้ากระดาน ลายบัว ลายท้องไม้ บัวคว่ำ บัวหงาย ฯลฯ โดยลายส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของแนวลายใบเทศ คือ ถ้าเป็นกระจังจะเป็นกระจังทรงใบเทศ ถ้าเป็นกระหนกก็จะเป็นกระหนกลายใบเทศ ซึ่งโดยรวมแล้วลวดลายจะให้อยู่ในลักษณะของลายใบเทศ ซึ่งเป็นลายเครื่องประดับของไทยที่มีความงดงามและใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ส่วนของพระโกศที่ค่อนข้างทำยาก คือ ส่วนของบัวถลาหรือบัวคว่ำ ซึ่งอยู่ในส่วนของฝาพระโกศ เพราะมีลักษณะโค้งทำให้ลายต้องลดหลั่นกันลงมา จึงต้องมีการตัดชิ้นไม้ขึ้นมาเพื่อเลื่อย เป็นรูปโค้งแล้วถึงจะมาต่อเป็นแผ่นๆ ให้ได้ความกว้างและขนาดลาย จากนั้นจึงจะนำมาโกรกฉลุ
การบรรเลงดนตรีไทยในงานพระศพ
การบรรเลงดนตรีไทยในงานพระราชพิธี ถือว่าเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นส่วนหนึ่งในของงานพระราชพิธีที่บรรเลงตามขั้นตอนของงานพระราชพิธี คู่กับวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง
เดิมการประโคมดนตรีที่เป็นลักษณะประโคมย่ำยาม มีเฉพาะของงานเครื่องสูงสำนักพระราชวังเท่านั้น ประกอบด้วยวงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ มีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง
ในการประโคมงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในการประโคมย่ำยามด้วย ดังนั้น จึงมี ๒ หน่วยงานเข้าร่วมประโคม คือ วงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง (วงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ) และวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมการประโคมย่ำยาม มีขั้นตอนเรียงลำดับ ดังนี้
วงประโคมลำดับที่ 1 คือ วงแตรสังข์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ประโคม "เพลงสำหรับบท" จบแล้ว วงประโคมวงที่ 2 จึงเริ่มขึ้น
วงประโคมลำดับที่ 2 คือ วงปี่ไฉนกลองชนะ (หรือเรียกว่า วงเปิงพรวด) ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ปี่ไฉน กลองชนะ เปิงมาง "ประโคมเพลงพญาโศกลอยลม" จบแล้ว วงประโคมวงที่ 3 จึงเริ่มขึ้น
วงประโคมลำดับที่ 3 คือ วงปี่พาทย์นางหงส์ ประกอบด้วย ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง "ประโคมเพลงชุดนางหงส์"

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

***_***ต้านหวัดด้วยผักและผลไม้***_***




มะขามป้อม มีวิตามินซีสูงกว่าแอปเปิ้ลถึง 160 เท่า และวิตามินซีในมะขามป้อมยังสามารถคงสภาพอยู่ได้นานถึงจะแห้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้ในมะขามป้อมยังมีฟอสฟอรัส แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส สังกะสี คอปเปอร์ โซเดียม ซีลิเนียม สูงกว่าแอปเปิ้ลหลายเท่า หากกินมะขามป้อมหนึ่งผลก็จะได้รับวิตามินซีเพียงพอในหนึ่งวัน ที่สำคัญก็คือ มันมีฤทธิ์ยับยั้งความเป็นพิษต่อตับ จึงมีฤทธิ์รักษาอาการตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและยังป้องกันการเกิดพิษต่อตับของสารพวกโลหะหนักได้ เรียกว่าเป็นผลไม้ที่มีสารแอนตี้ออกซิเดชั่นสูงโดยเฉพาะการต้านไวรัสหวัด เพราะวิตามินซีจะช่วยปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระและกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวทำงานต้านเชื้อโรค


น้ำมะม่วง มีโปรวิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) สูงซึ่งวิตามินเอจะช่วยให้ผิวและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีสุขภาพดี มีบทบาทสำคัญสำหรับภูมิคุ้มกัน ในการต้านเชื้อโรคต่างๆ และช่วยต้านไวรัสหวัด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะวิตามินเอสำคัญสำหรับการมองเห็น


พริกหวาน มีโปรวิตามินเอ วิตามินบี 6 และวิตามินซี พริกหวานเพียงครึ่งลูกก็เพียงพอสำหรับวิตามินซีตลอดวัน ที่สำคัญก็คือ วิตามินบี 6 เป็นวิตามินที่สำคัญสำหรับเส้นประสาท ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ต่างๆ ของภูมิคุ้มกันขยันทำงานวิตามินเอช่วยให้ร่างกายต้านไวรัสหวัด


สับปะรด มีวิตามินครบเกือบทุกชนิด ยกเว้นวิตามินอีและไบโอติน ที่สำคัญคือมีวิตามินซีและเอนไซม์สูง โดยเฉพาะเอนไซม์ Bromelain จะช่วยให้เลือดจางลงและยับยั้งการอักเสบ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง


แตงโม เห็นแตงโมสีแดงๆ อย่างนี้เถอะ มันเต็มไปด้วยวิตามินซีและสังกะสี ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันและระบบกำจัดสารพิษของร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้ โปรวิตามินเอยังช่วยปกป้องเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเป็นตัวขวางกั้นเชื้อโรคตามธรรมชาติ หากเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของเราทำงานขยันขันแข็ง เชื้อไวรัสและแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคอื่นๆ ก็ไม่สามารถเข้าไปฝังตัวในร่างกายคุณได้ ที่สำคัญก็คือไลโคปีนสีแดงๆ ในแตงโมยังเป็นสารแอนตี้ออกซิเดนต์และเป็นตัวดักจับอนุมูลอิสระอีกด้วย


ส้ม แค่ส้มหนึ่งผลก็ให้วิตามินซีแก่ความต้องการของร่างกายทั้งวัน นอกจากนี้ ส้มยังเต็มไปด้วยแคโรทีนและโพแทสเซียมซึ่งจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงและป้องกันการติดเชื้อไวรัส




Zz..เครื่องประดับ รับลมหนาว..zZ

ในวันสบายๆ
ออกแนวสไตล์คาวบอย




สำหรับของท่านผู้ชายที่แฝงความเซอร์ไว้นิดๆ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

นางนพมาศ




นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนางเรวดี
บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท นางนพมาศได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ในยุคสุโขทัย เป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอกตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการเข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย
เรื่องนี้แต่งด้วยร้อยแก้วแต่มีคำประพันธ์ลักษณะเป็นกลอนดอกสร้อยแทรกอยู่บ้าง ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นใหม่ในมัยรัตนโกสินทร์ เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างจากภาษาที่ใช้ในวรรณคดีที่แต่งในยุคเดียวกันคือ คือศิลาจารึกหลักที่ 1 และ ไตรภูมิพระร่วง
เนื้อเรื่องในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทย
เช่น การประดิษฐ์ พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนังสือนางนพมาศ
และนางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วง มีอยู่ 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) นางได้คิดประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่าแต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้ นางนพมาศเป็นบุคคลที่ได้สมญาว่า "กวีหญิงคนแรกของไทย" ดังเช่นที่เขียนไว้ว่า "ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฎชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน " นี่คือนางนพมาศ สนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า

<_>เสื้อกันหนาว...หนาว<_>

ชุดทำงานที่อบอุ่น

<.........................>

สีสันอบอุ่น


เท่ด้วยอุ่นด้วย


วิ่งๆจะได้อุ่น..อุ่น




Hiver




L'hiver est une des quatre saisons des zones tempérées.
Astronomiquement, cette saison commence avec le solstice d'hiver (autour du 21 décembre dans l'hémisphère nord et du 21 juin dans l'hémisphère sud) et finit à l'équinoxe de printemps (autour du 21 mars dans l'hémisphère nord et 23 septembre dans l'hémisphère sud). Dans l'hémisphère nord, c'est au moment du solstice d'hiver que la nuit est la plus longue de toute l'année.
La date culturelle de début de l’hiver peut varier selon les pays. Ainsi au
Royaume-Uni et en Irlande on considère plus le solstice comme le milieu de l’hiver qui commence aux alentours du 1er novembre vers la Samhain. En Australie l’hiver commence vers le 1er juin. Dans l’astrologie chinoise et dans certains pays asiatiques voisins de la Chine, l’hiver commence vers le 7 novembre avec « l’établissement de l’hiver » (立冬 lìdōng en hànyǔ pīnyīn, 立冬 rittō en rōmaji, 입동 (立冬) en hangûl).
En
météorologie, l'hiver s'étend par convention de décembre à février dans l'hémisphère nord et de juin à août dans l'hémisphère sud.
Plus on se rapproche des
pôles, plus l'hiver est réputé rigoureux. Cela est également vrai en montagne lorsque l'altitude augmente. En hiver, les journées sont plus courtes que les nuits. L'hiver polaire est caractérisé, au-delà du cercle polaire, par au moins une nuit ininterrompue de 24 heures. Le cycle des saisons est dû à l'inclinaison de la Terre par rapport à l'écliptique. Lorsqu'un hémisphère est plongé dans l'hiver, il est incliné à l'opposé du Soleil.
L'
orbite de la Terre n'est pas parfaitement circulaire ; elle est elliptique. La Terre atteint son périhélie lorsque l'hémisphère nord est incliné à l'opposé du Soleil. Ainsi, dans l'hémisphère nord, l'hiver est légèrement plus court que l'été du fait que la Terre est plus près du Soleil, ce qui la fait accélérer sur son orbite conformément à la deuxième loi de Kepler.

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

&&Argentine&&




L’Argentine, officiellement la République argentine (en espagnol : República Argentina ; [repuβlika arxen'tina]) est un pays d’Amérique du Sud partageant ses frontières avec le Chili à l’ouest, la Bolivie au nord-ouest, le Paraguay au nord, le Brésil et l’Uruguay au nord-est, et est bordé à l’est par l’océan Atlantique.
Le pays a acquis son indépendance le
25 mai 1810, indépendance définitivement proclamée le 9 juillet 1816 à San Miguel de Tucumán.
Sa capitale est
Buenos Aires, la langue nationale est l’espagnol et sa monnaie est le peso argentin. Son nom Argentine vient du latin Argentum signifiant « argent ».
Parmi les pays d'
amérique latine, l’Argentine est, avec l'Uruguay, celui où la culture européenne est la plus affirmée.
Étymologie
Le nom du pays vient du mot latin argentum signifiant « argent ». Il fut attribué au temps des premiers explorateurs espagnols sur le Río de la Plata (appelé autrefois : mer douce Mar Dulce) où les survivants d’une expédition emmenée par Juan Díaz de Solís rencontrèrent des autochtones qui leur offrirent des objets en argent. Par la suite, la légende de Sierra del Plata, montagne riche en argent, atteignit l’Espagne vers 1524, et le nom d’Argentine fut vu pour la première fois sur une carte vers 1536. À partir de 1612, ce nom est employé partout lorsqu’on désignait le pays .
Régions géographiques
Le pays est traditionnellement divisé en différentes régions majeures :
Pampas
Les plaines à l'ouest et au sud de
Buenos Aires. Appelée la'Pampa humide, cette région recouvre la plupart des provinces de Buenos Aires et de Córdoba ainsi que celles de Santa Fe et de la Pampa.
Gran Chaco
La région
Gran Chaco se situe au nord du pays, avec des saisons humides et sèches, il permet l'élevage de bétail et la culture de coton. Il recouvre les provinces du Chaco et de Formosa. Il comprend également des forêts subtropicales où se développent la végétation et les animaux.
Mesopotamia
Ce territoire se trouve entre le
Rio Paraná et le Rio Uruguay, partagés entre les provinces de Corrientes et d'Entre Ríos, où l'on entretient le bétail et les Esteros del Iberá. La province de Misiones est trop tropical, caractérisée par les Chutes d'Iguaçu
Patagonie
Les
steppes de la Patagonie dans les provinces de Neuquén, Río Negro, Chubut et Santa Cruz sont d'origines tertiaires. Le territoire est semi-aride au nord et froid et aride au sud, mais est constitué à l'ouest de plusieurs grands lacs et de forêts. La Terre de Feu est froide et humide, modéré par l'influence océanique. Enfin, le nord peut être référé à Comahue.
Cuyo
L'ouest de l'Argentine est dominé par l'imposante cordillère des Andes, à l'est se trouve une région aride appelée
Cuyo, l'eau descendant des montagnes permet la viticulture et l'agriculture grâce à son irrigation, bien que le relief y est accidenté.

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

@_@ทิปส์@=@


อัพเดทความรู้ใหม่ และสลัดความเชื่อเก่าที่ผิดๆ เรื่องกาแฟทิ้ง...เพราะมันให้คุณมากกว่าโทษ ถ้าคุณรู้จักดื่ม และนี่คือ 6 ข้อเท็จจริงที่เราเอามาบอก
ไม่จริง ว่าการดื่มกาแฟทำให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิต เป็นหมัน ทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์แท้งได้ ส่งผลให้ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อย เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ ซีสต์ในเต้านม และกระดูกพรุน ถ้าคุณดื่มเพียงวันละ 1-2 ถ้วย ไม่รู้ใช่มั้ย...กาแฟช่วยลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคพาร์คินสัน ลดอันตรายจากตับในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคตับ ลดอาการหอบในผู้ที่มีโรคหอบหืด เพิ่มความจำ และสำหรับนักกีฬาจะช่วยเพิ่มความทนและความอึดในกีฬาที่ต้องใช้เวลานาน
ต้องดื่มบ่อยๆ...สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเพราะต้องการแก้ง่วง แนะนำให้ดื่มปริมาณน้อยๆ แต่กระจายการดื่มออกไปตลอดวัน เช่น แทนที่จะดื่มถ้วยใหญ่ 16 ออนซ์ (500 มล.) ในตอนเช้า ให้ดื่มเพียงครั้งละ 2-3 ออนซ์ (60-90 มล.) แต่บ่อยขึ้น กาแฟจะเริ่มออกฤทธิ์ใน 15 นาที และจะอยู่ในร่างกายนานหลายชั่วโมง และต้องใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมงกว่าที่จะถูกขจัดออกจากร่างกาย
กาแฟดีกว่าไวน์และชาสมุนไพร...เมล็ดกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาเขียวถึง 4 เท่า และยังมากกว่าโกโก้ ชาสมุนไพร และไวน์แดง ที่มากกว่าเพราะผู้บริโภคดื่มกาแฟมากกว่าเครื่องดื่มอื่นๆ แต่สารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟแต่ละถ้วยและแต่ละยี่ห้อนั้นก็ไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของกาแฟ
ระวังไว้นิดก็ดี...องค์ประกอบหลักของกาแฟคือ สารกาเฟอีน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่มีผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หรือเต้นผิดปกติในบางครั้ง และเพิ่มความดันโลหิต งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโทรอนโทเปิดเผยว่า การดื่มกาแฟมากอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันในผู้ที่มียีนขจัดกาเฟอีนช้า ทำให้กาเฟอีนอยู่ในกระแสเลือดนานขึ้น แต่สำหรับคนที่มียีนปกติที่ขจัดกาเฟอีนได้เร็วกาแฟก็จะไม่มีผล
ดีแคฟ...ไม่ช่วยอะไร ผู้ที่ดื่มกาแฟสกัดกาเฟอีน อาจคิดว่าปลอดภัย แต่นักวิจัยเตือนว่า กาแฟสกัดกาเฟอีนอาจเพิ่มระดับกรดไขมันในเลือดให้สร้างแอลดีแอล ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลตัวร้ายได้ เพราะในกระบวนการสกัดกาเฟอีนจะสกัดเอาสารเฟลโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารอื่นๆ ที่ให้รสชาติกาแฟแท้ๆ ออกไปด้วย ดังนั้น การดื่มดีแคฟนอกจากจะอร่อยน้อยลงแล้ว ยังมีผลเสียต่อสุขภาพอีก