Thank...you

+++ขอบคุณสำหรับการเข้ามาชมบล็กนะค่ะ+++

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)





พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (จนฺทสโร หมายถึง ผู้นำแสงสว่างมาสู่โลก ประดุจพระจันทร์ส่องสว่างยามราตรี) เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตรสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี หรือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ เดิมชื่อ สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน ท่านนับเป็นองค์ปฐมบรมครูแห่งวิชชาธรรมกายในยุคปัจจุบัน
ชีวิตในช่วงต้น

เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน-อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง
เมื่อท่านอายุได้ 14 ปีโยมบิดาได้ถึงแก่กรรมลงท่านจึงรับภาระดูแลการค้าแทน ท่านฉลาดในการปกครอง ลูกเรือต่างก็รักนับถือท่านและเนื่องจากท่านเป็นคนขยันขันแข็งในการทำงาน อาชีพการค้าจึงเจริญขึ้นโดยลำดับ จนปรากฏในยุคนั้นว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง วันหนึ่งเมื่อท่านนำเรือเปล่ากลับบ้านพร้อมเงินรายได้จากการขายข้าวผ่านลัดคลองเล็กซึ่งชาวบ้านเรียกว่า คลองบางอีแท่น มีโจรผู้ร้ายชุกชุมท่านนึกถึงความตายขึ้นมา และได้อธิษฐานจิตในขณะนั้นว่า ขออย่าให้ข้าพเจ้าตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอาย ไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ 19 ปี หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต
อุปสมบท
เดือนกรกฎาคม 2449 ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่า สด จนฺทสโร พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่ง อินทสุวณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดทั้งสองรูปอยู่วัดเดียวกัน คือวัดสองพี่น้อง ในการเรียนด้านคันถธุระในพรรรษาแรก ท่านสงสัยอยากรู้คำแปลคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา ซึ่งไม่มีใครทราบ ท่านจึงเกิดความดำริที่จะไปเรียนคันถุระต่อที่กรุงเทพ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านเริ่มปฏิบัติสมถวิปัสสนากับองค์อนุสาวนาจารย์นับแต่วันบวช เมื่อบวชแล้วพอรุ่งขึ้นอีกวัน หลวงพ่อก็เริ่มลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานต่อกับพระอาจารย์เนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษาเมื่อออกพรรษาที่วัดสองพี่น้องแล้ว ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษา ณIวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อศึกษาด้านคันถธุระต่อ ในสมัยนั้นนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน ขณะที่ท่านเรียนทางด้านคันถธุระอยู่นั้น ก็ได้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระควบคู่ไปด้วย โดยการศึกษากับพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสำนักต่าง ๆ ท่านได้ไปศึกษากับ ท่านเจ้าคุณสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ท่านพระครูฌาณวิรัติ วัดพระเชตุพน และสำนักของพระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ จนได้ผลการปฏิบัติเป็นที่พอใจของพระอาจารย์ เมื่อได้ศึกษาภาวนาวีธีจนมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งจากพระอาจารย์ทั้งจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ มีวิสุทธิมรรค เป็นต้น ได้แสวงหาที่หลีกเร้น มีความวิเวก เป็นสัปปายะต่อการปฏิบัติธรรมดังนั้นในพรรษาที่ 11 จึงได้กราบลา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( เข้ม ) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ เพื่อไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนบุรี
เข้าถึงธรรมกาย
ในพรรษาที่ 11 ท่านได้ไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ท่านได้มีความคิดที่จะกระทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ตั้งแต่เช้าตรู่ “เราบวชมาจวนจะครบ 12 พรรษาแล้ว วิชชาของพระพุทธเจ้าเรายังไม่ได้บรรลุเลย ทั้งที่การศึกษาของเราก็ไม่เคยขาดเลยสักวันทั้งคันถธุระและวิปัสนาธุระ อย่าเลย ควรจะรีบกระทำความเพียรให้รู้เห็นของจริงในพระพุทธศาสนาเสียที” เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้วท่านก็รีบจัดการภารกิจต่างๆให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่มีเรื่องกังวลใจ เสร็จแล้วก็ได้เข้าเจริญภาวนาในอุโบสถ โดยตั้งใจว่าหากไม่ได้ยินเสียงกลองเพลจะไม่ยอมลุกจากที่ เมื่อตั้งใจแล้วก็หลับตาภาวนา “สัมมา อะระหัง” เรื่อยไปจนกระทั่งความปวดเมื่อยและอาการกระสับกระส่ายเริ่มติดตามมา จิตก็ซัดส่ายกระวนกระวายจนเกือบจะหมดความอดทน แต่ได้ตั้งสัจจะไว้แล้วจึงทนนั่งต่อไป เมื่อไม่สนใจความปวดเมื่อยของสังขาร ในที่สุดใจก็ค่อยๆ สงบลงทีละน้อยแล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก
เย็นวันนั้นหลังจากได้ฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนสหธรรมิกแล้ว ท่านได้รีบทำภารกิจส่วนตัวสรงน้ำให้ร่างกายสดชื่นดีแล้ว จึงเข้าไปในอุโบสถแต่เพียงรูปเดียว เมื่อกราบพระประธานแล้วก็ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ขอให้พระองค์ทรงพระเมตตาโปรดประทานธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดก็ยินดี ถ้าหากการบรรลุธรรมของข้าพระองค์ฯจักเกิดโทษแก่พระศาสนาก็ขออย่าได้ทรงประทานเลย แต่ถ้าจะเป็นคุณแก่พระศาสนาแล้ว ขอได้โปรดประทานแก่ข้าพระองค์ฯด้วยเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะขอรับเป็นทนายพระศาสนาต่อไปจนตลอดชีวิต”
เมื่อได้ตั้งสัตยาธิษฐานแล้วท่านก็เริ่มนั่งหลับตา ขณะนั้นมีมดอยู่ในช่องแผ่นหินที่ท่านนั่ง กำลังไต่ขึ้นมารบกวนท่าน จึงหยิบขวดน้ำมันก๊าดขึ้นมา เพื่อจะทากันมด แต่แล้วก็คิดได้ว่า ชีวิตของเรา เราได้สละแล้วเพื่อการบำเพ็ญเพียร แต่เหตุไฉนจึงยังกลัวมดอยู่อีก จึงวางขวดน้ำมันก๊าดลง เจริญกัมมัฏฐานต่อไป จนถึงยามดึกจึงได้เริ่มเห็นดวงปฐมมรรคหรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่อได้รู้เห็นธรรมะแล้วท่านจึงได้เข้าใจว่า “พระธรรมนี้เป็นของลึกซึ้งยิ่งนัก ยากที่มนุษย์จะเข้าถึง การจะเข้าให้ถึงได้ต้องรู้ตรึก รู้นึก รู้คิด ต้องหยุดเป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด ถ้าไม่ดับก็ไม่เกิดนี่เป็นของจริง ของจริงต้องอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนนี้เป็นไม่เห็นเด็ดขาด” เมื่อมองเรื่อยไปก็เห็นดวงใหม่ผุดซ้อนขึ้นมาแทนที่ดวงเก่า แต่ใสสว่างมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดก็เห็นกายต่างๆ ตามลำดับจนกระทั่งถึง ธรรมกาย
ได้เริ่มเห็นผังของจริงของพระพุทธเจ้า ( ธรรมกายโคตรภู ) ในระหว่าง มัชฌิมยามกับปัจฉิมยามติดต่อกัน ท่านได้รำพึงว่า ธรรมเป็นของลึกซึ้งถึงเพียงนี้ ใครจะไปคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัย ของความตรึก นำ คิด ถ้ายังตรึก นึก คิด อยู่ก็ไม่ถึง ที่จะเข้าให้ถึงต้องทำให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิด นั้นหยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วก็ไม่เกิด ตรองดูเถิดท่านทั้งหลายนี่เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด รำพึงอย่างนี้สักครู่ใหญ่ เกรงว่า ความมีความเป็นนั้นจะเลือนไปเสียจึงเข้าที่ ดำรงสมาธิมั่น ต่อไปตลอดปัจฉิมยาม ในขณะดำรงสมาธิมั่น อยู่อย่างนั้น เห็นวัดบางปลา ปรากฏขึ้นในนิมิต จึงเกิดญาณทัสสนะขึ้นอยู่ว่า ธรรมที่รู้ว่าได้ยากนั้น ในวัดบางปลานี้ จะต้องมีผู้รู้เห็น ได้อย่าง แน่นอน ออกพรรษาแล้วได้ไปสอนที่วัดบางปลา 4 เดือน มีพระทำเป็น ได้พระธรรมกาย 3 รูป คือ พระสังวาลย์ พระแบน และพระอ่วม กับคฤหัสถ์ 4 คน นับแต่นั้นมาหลวงพ่อ ก็เป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่คนเคารพ รู้จักและยกย่องบูชากันทั่วไป คำว่า
ธรรมกาย นี้ มีพระบาลี รับรองว่า ตถาคตสส วาเสฏฐ เอตํ ธมมกาโยติ วจนํ ดูกรวาเสฏฐะ ธรรมกายนี้เป็นชื่อของพระตถาคต และมีพระบาลีปรากฏในอัคคัญญสูตร ปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย พระสุตตันตปิฎกรับรองว่า ตถาคตสส เหตํ วาเสฏฐา อธิวจนํ ธมมกาโย อิติปิ ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ เพราะคำว่าธรรมกายนี้เป็นชื่อของ ตถาคต
คติธรรม

- เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำ จะเกิดมาทำไม อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตมันเป็นห่วงเป็นใย
เลิกอยากลาหยอก รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า "นิพพาน" ก็ได้
- ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
- ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี่แหละเป็นตัวสำเร็จ
- ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย

ไม่มีความคิดเห็น: